หนุ่มฟิลิปปินส์เจ๋ง สร้าง “แผงโซลาร์” จากเศษอาหารเหลือ
AuREUS ทำจากวัสดุเหลือใช้ "ผักผลไม้เน่าเปื่อย" กลายเป็นส่วนหนึ่งของเสื้อผ้า รถยนต์ อาคาร และบ้านของเราได้ เรียกได้ว่า นี่คือการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่เราสามารถทำได้เพื่ออนาคต ยังสามารถใช้ แทนหน้าต่างกระจกทั่วไปเพื่อให้ทั้งอาคารกลายเป็นฟาร์มพลังงานแสงอาทิตย์ https://www.boonnews.tv/n27600
“แผงโซลาร์” คว้ารางวัล James Dyson Award
มันเป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามนุษย์ สร้างขยะที่เกิดจากของกินเหลือใช้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะของอย่างผักหรือผลไม้ที่เน่าเสีย ซึ่งแม้จะย่อยสลายได้ง่ายเมื่อเทียบกับขยะประเภทอื่น แต่ก็ถือว่าสิ้นเปลืองมากๆ
ดังนั้น เคยคิดกันเล่นๆ ไหมว่ามันจะดีแค่ไหนหากเราสามารถนำขยะกลุ่มดังกล่าวไปใช้ประโยชน์อะไรได้
นั่นเพราะเมื่อล่าสุดนี้เอง ชายหนุ่มวัย 27 ปีจากฟิลิปปินส์ ชื่อ Carvey Ehren Maigue ก็เพิ่งจะได้รับรางวัลรางวัล “James Dyson Award” รางวัลด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีผู้ร่วมมากถึง 27 ประเทศไป
ด้วยผลงานสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่จะสามารถผลิต “แผงโซลาร์” ขึ้นมาได้ โดยอาศัยแค่เศษอาหารเหลืออย่าง “ผักผลไม้เน่าเปื่อย” เท่านั้น
“AuREUS system”
ผลงานแผงโซลาร์ตัวใหม่นี้ มีชื่อว่า “AuREUS system” โดยมันเป็นแผ่นคล้ายแก้วความยืดหยุ่นสูงสำหรับติดกระจกที่ทำขึ้นโดยอาศัยความสามารถจับโฟตอนพลังงานสูงใน UV ของอนุภาคเรืองแสงที่ได้จากผักและผลไม้
เพื่อทำให้ตัวแผ่น AuREUS system เรืองแสงได้ด้วยตัวของมันเอง ในระดับความสว่างมากพอที่มนุษย์จะใช้งานในยามราตรี
ในขณะที่หากตัวแผ่นมีวงจรควบคุมติดตั้งไว้ เราก็จะสามารถนำพลังงานที่ได้ไปชาร์จลงในแบตเตอรี่ หรือใช้งานเป็นไฟฟ้าได้โดยตรงด้วย
อ้างอิงจากคุณ Carvey ระบบของเขานั้น ต่างจากโซลาเซลล์ตามปกติตรงที่มันสามารถทำงานได้แม้วันที่แดดไม่แรงหรือ ตัวกระจกไม่ได้รับแสงโดยตรง
ดังนั้นมันจึงเหมาะสมมากที่จะนำไปติดตั้งตามกระจกอาคาร เพื่อทำให้ตัวอาคารกลายเป็นแห่งผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ขนาดย่อมๆ เลย
“เราสามารถใช้ AuREUS แทนหน้าต่างกระจกทั่วไปเพื่อให้ทั้งอาคารกลายเป็นฟาร์มพลังงานแสงอาทิตย์” คุณ Carvey ระบุ
“เราสามารถทำให้ AuREUS กลายเป็นส่วนหนึ่งของเสื้อผ้า รถยนต์ อาคาร และบ้านของเราได้ เรียกได้ว่านี่คือการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่เราสามารถทำได้เพื่ออนาคตเลย”
และก็ด้วยความสามารถรวมตัว แถมยังทำจากวัสดุเหลือใช้นี่เอง ก็ทำให้ไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่ระบบ AuREUS จะกลายเป็นระบบที่สามารถคว้ารางวัล James Dyson Award ประจำปีนี้ไปได้ แม้จะมีคู่แข่งมากถึง 1,800 คน
ที่มา : theguardian และ boredpanda
Posted in : CatDumb - เกาะติดเทคโนโลยี > เรื่องราวรอบโลก
Posted on : 3 December 2020