วงจรหลับ-ตื่นของคุณเป็นแบบไหน ?

ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์พบว่า ผู้คนจำนวนมากมี "ครอนอไทป์" (Chronotype) หรือรูปแบบของนาฬิกาชีวภาพที่กำหนดวงจรการหลับและตื่น ไม่สอดคล้องกับ 2 แบบแผนหลักที่กำหนดไว้แต่เดิม คือ "มนุษย์ค้างคาว" กับ "มนุษย์ไก่โห่" https://www.boonnews.tv/n27681

148 ผู้เข้าชม

ผลวิจัยเผยมนุษย์มีนาฬิกาชีวภาพหลากหลายถึง 6 แบบ  

เมื่อช่วงต้นศตวรรษที่ 20 นักจิตวิทยาชาวเยอรมัน ได้จำแนกพฤติกรรมการหลับและตื่นที่เป็นวงจรของมนุษย์ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ "มนุษย์ค้างคาว" ที่ชอบอดนอนตอนกลางคืนแต่งีบหลับช่วงกลางวัน กับ "มนุษย์ไก่โห่" ที่ง่วงแต่หัวค่ำแต่จะสดชื่นกระปรี้กระเปร่าเมื่อตื่นแต่เช้าตรู่

การใช้ชีวิตให้สอดคล้องกับพฤติกรรมตามธรรมชาติของแต่ละคนเช่นนี้ มีผลดีต่อสุขภาพและการทำงานที่มีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง แต่ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์พบว่า ผู้คนจำนวนมากมี "ครอนอไทป์" (Chronotype) หรือรูปแบบของนาฬิกาชีวภาพที่กำหนดวงจรการหลับและตื่น ไม่สอดคล้องกับ 2 แบบแผนหลักที่กำหนดไว้แต่เดิม

ล่าสุดทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย RUDN ของรัสเซีย ตีพิมพ์ผลการศึกษากรณีดังกล่าวในวารสาร "บุคลิกภาพและความแตกต่างระหว่างบุคคล" (Personality and Individual Differences) โดยระบุว่ามีการสำรวจข้อมูลเรื่องความรู้สึกสดชื่นตื่นตัวที่เปลี่ยนแปลงขึ้นลงในช่วงเวลาต่าง ๆ ระหว่างวัน จากนักศึกษาทั้งหมด 2,300 คน

ผลปรากฏว่ามีนักศึกษาถึง 95% ที่มีความเปลี่ยนแปลงของระดับพลังงานในร่างกายระหว่างวัน ตรงกับรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งในครอนอไทป์ทั้ง 6 แบบ และมีเพียง 5% ที่ไม่สามารถจัดให้เข้ากับครอนอไทป์ประเภทใดได้เลย

ครอนอไทป์ทั้ง 6 แบบ

ประกอบด้วยวงจรการหลับและตื่น ซึ่งก็คือวงจรการเพิ่มและลดของระดับพลังงานในร่างกายที่แตกต่างกันออกไป ได้แก่ 

1) ตื่นตัวตอนเช้า 

2) ตื่นตัวตอนกลางคืน

3) ตื่นตัวสูงตลอดวันตลอดคืน 

4) ตื่นตัวตอนเช้าและค่ำแต่งีบหลับกลางวัน 

5) ตื่นตัวสูงเฉพาะช่วงกลางวัน 

6) ตื่นตัวปานกลางตลอดวันตลอดคืน

ครอนอไทป์แบบตื่นตัวตอนเช้าจะมีระดับพลังงานสูงสุดในช่วงแรกของวัน และจะค่อย ๆ ลดลงไปตามลำดับ ในขณะที่ครอนอไทป์แบบตื่นตัวตอนกลางคืนจะสวนทางกัน

ครอนอไทป์แบบที่ 4 และ 5 มีความเปลี่ยนแปลงของระดับพลังงานในช่วงกลางวันมากที่สุด เมื่อเทียบกับช่วงเวลาอื่น ๆ ส่วนครอนอไทป์แบบที่ 3 และ 6 มีระดับพลังงานค่อนข้างคงที่ตลอดวันตลอดคืน ต่างกันตรงแบบที่ 3 จะมีระดับพลังงานสูงกว่า หรือมีความสดชื่นกระปรี้กระเปร่ามากกว่านั่นเอง

37% ของผู้เข้าร่วมการสำรวจบอกว่าตนเองมีครอนอไทป์แบบที่ 1 หรือแบบที่ 2 ส่วนอีก 18% บอกว่าเป็นพวกงีบหลับกลางวัน อีก 16% บอกว่ารู้สึกตื่นตัวระดับปานกลางตลอดเวลา และอีก 15% บอกว่าเป็นพวกตื่นตัวสูงเฉพาะช่วงกลางวัน มียอดมนุษย์เพียง 9% เท่านั้น ที่บอกว่ารู้สึกตื่นตัวสูงและสดชื่นกระปรี้กระเปร่าได้ตลอดวันตลอดคืน

วงจรหลับ-ตื่นของคุณเป็นแบบไหน ?
วงจรหลับ-ตื่นของคุณเป็นแบบไหน ?

Posted in               :              BBC NEWS I ไทย  -  วิทยาศาสตร์

Posted on              :             4 มกราคม 2021

แชร์