เจาะลึกอาหารกับอาการของคนซึมเศร้า อะไรควรกิน-ไม่ควรกิน
เนื่องจากผู้ป่วยโรคซึมเศร้าส่วนใหญ่จะฟื้นฟูอยู่ที่บ้าน และขณะนี้มีการโฆษณาอาหารต่างๆ ผ่านสื่อจำนวนมาก อาหารบางอย่างอาจมีสารที่มีผลขัดขวางกับฤทธิ์ยารักษาโรคซึมเศร้าได้ เพื่อไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนใดๆ ซ้ำเติมผู้ป่วยอีก https://www.boonnews.tv/n26757
อาหารที่มีคุณประโยชน์แบบไหนช่วยให้ห่างไกลจากโรคซึมศร้า
รู้หรือไม่? อาหารที่มีคุณประโยชน์แบบไหนช่วยให้ห่างไกลจากโรคซึมศร้า และอาหารกลุ่มไหนขัดขวางฤทธิ์ยา แค่ต้องรู้ มาดูอาหารที่ผู้ป่วยซึมเศร้าควรกิน-ห้ามกิน กันเถอะ!!
ตามรายงานขององค์การอนามัยโลก ระบุ หากผู้ป่วยรับประทานอาหารที่ไม่ดี ก็จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อาการของโรคซึมเศร้าเพิ่มมากขึ้น ซึ่งโรคซึมเศร้าถือเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของการเกิดอุบัติเหตุและความพิการสำหรับชาวอเมริกันที่มีอายุระหว่าง 15 ถึง 44 ปี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดรูว์ แรมซีย์ จิตแพทย์จากคลินิกจิตเวชแห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับอาหารและสุขภาพจิต) อธิบายว่า อาหารที่ถูกต้องเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวล ส่งผลให้กระบวนการรักษาโรคได้ผลดียิ่งขึ้น เช่น การรับประทานในกลุ่มที่มีวิตามินบี 12 และกรดไขมันโอเมก้า 3 แบบโมเลกุลสายโซ่ยาวที่ช่วยบำรุงสมอง ก็จะช่วยลดอาการโรคซึมเศร้าได้ หากร่างกายเราขาดโอเมก้า 3 จะทำให้มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย
หมอแรมซีย์เป็นผู้บุกเบิกด้านโภชนาการทางจิตเวช ได้ประยุกต์ใช้ข้อมูลจากการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสารอาหารที่มีผลต่อสมองและสุขภาพจิต ตามปกติหมอแรมซีย์จะจ่ายยาแก้ซึมเศร้าและยารักษาโรคอื่นๆ ตามความเหมาะสมให้แก่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า รวมถึงการบำบัดด้วยการพูดคุย แต่เขายืนยันว่ามากไปกว่านั้น การแนะนำให้ผู้ป่วยกินอาหารที่สดใหม่และมีคุณค่าทางโภชนาการ ก็สามารถเป็นส่วนเสริมของการบำบัดผู้ป่วยได้ด้วย
เรื่องนี้มีข้อมูลโดย นายแพทย์กิตต์กวี โพธิ์โน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ เผยว่า ผู้ที่มีอาการซึมเศร้าอย่าอายหมอ ขอให้รีบไปรักษา ทั้งนี้ ยังได้ให้ฝ่ายเชี่ยวชาญของโรงพยาบาลไปวิเคราะห์ประเภทอาหารที่เป็นผลดีและผลเสียต่อโรคซึมเศร้าและยาที่ใช้รักษา เนื่องจากผู้ป่วยโรคซึมเศร้าส่วนใหญ่จะฟื้นฟูอยู่ที่บ้าน และขณะนี้มีการโฆษณาอาหารต่างๆ ผ่านสื่อจำนวนมาก อาหารบางอย่างอาจมีสารที่มีผลขัดขวางกับฤทธิ์ยารักษาโรคซึมเศร้าได้ เพื่อไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนใดๆ ซ้ำเติมผู้ป่วยอีก
อาหารที่ควรกิน
สำหรับอาหารที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าควรรับประทานเพื่อช่วยเสริมประสิทธิภาพยา รักษาของแพทย์มี 5 กลุ่ม ได้แก่
1. ไขมันดี กลุ่มอาหารที่มีกรดไขมันที่ดีต่อสุขภาพช่วยลดอาการซึมเศร้า คือโอเมกา 3 ได้แก่ เนื้อปลาต่างๆ อาทิ ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน ทูน่า ปลาช่อน ปลาดุกปลา สวายเนื้อขาว เป็นต้น
2. ไข่ ซึ่งมีกรดอะมิโนที่สำคัญ โดยเฉพาะทริปโตเฟนและไทโรซีนเป็นสารต้านอนุมูล อิสระ จะช่วยสร้างสารซีโรโทนินทำให้อารมณ์ดีและยังเปลี่ยนให้เป็นเมลาโทนิน ช่วยให้นอนหลับดีขึ้น
3. กล้วย จะมีแร่ธาตุโพแทสเซียมและมีสารทริปโตเฟนช่วยบรรเทาให้ความดันโลหิต กลับสู่ภาวะสงบ ลดการเกิดภาวะเครียดและวิตกกังวล
4. กลุ่มคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวกล้อง ลูกเดือย ข้าวโพด ถั่วเมล็ดแห้งเป็นต้น จะช่วยสร้างสารซีโรโทนินในสมอง ช่วยให้ผ่อนคลาย
5. กลุ่มเห็ด เห็ดทุกชนิดจะมีธาตุเซเลเนียมสูงช่วยกระตุ้นฮอร์โมนแห่งความสุขลด อารมณ์ขุ่นมัวได้
เครื่องดื่ม 2 ชนิดเป็นเครื่องดื่มสมุนไพร ได้แก่
1. น้ำอัญชัน ในดอกอัญชันจะมีสารแอนโทไซยานิน มีฤทธิ์กระตุ้นความจำช่วยผ่อน คลายความเครียด ลดความกังวลและช่วยให้นอนหลับ
2. น้ำลำไย ซึ่งมีสาร 2 ชนิดคือกรดแกลลิก ทำให้อารมณ์ดี ผ่อนคลายและสารกาบา ช่วยผ่อนคลายความเครียด และช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น
อาหารที่ไม่ควรกิน
1. สำหรับกลุ่มอาหารที่ผู้ป่วยซึมเศร้า “ห้ามรับประทาน”เนื่องจากจะซ้ำเติมอาการป่วย หรือขัดขวางการดูดซึมยา มี 2 ประเภท
2. อาหารที่มีน้ำตาลสูง อาหารที่มีรสหวานจัด ร่างกายจะดูดซึมได้เร็วกว่าปกติส่งผลให้ น้ำตาลในเลือดสูงอย่างรวดเร็ว ร่างกายเกิดภาวะเครียดอาจจะนำมาสู่อาการ หดหู่ซึมเศร้าได้
3. อาหารประเภทไส้กรอก และถั่วปากอ้ามีสารไทรามีนสูงทำปฏิกิริยากับยารักษาโรค ซึมเศร้าบางชนิด เช่น ยาเซเลจิลีนส่งผลให้ความดันโลหิตสูงได้
เครื่องดื่ม 3 ชนิด
1. ชา-กาแฟ เพราะมีคาเฟอีนสูง ทำให้นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย หากดื่มเกินกว่า 2 แก้วต่อวัน ทำให้วิตกกังวล ใจสั่น และเครียดเพิ่มขึ้น
2. น้ำอัดลมประเภทสีดำ มีคาเฟอีนและน้ำตาลสูง ส่วนแบบไม่มีน้ำตาลก็ต้องระวัง เพราะมีงานวิจัยจากสถาบันการศึกษาด้านประสาทวิทยาในต่างประเทศพบว่ากลุ่มผู้ บริโภคเครื่องดื่มที่มีสารให้ความหวานแทนน้ำตาล 4 กระป๋อง หรือ 4แก้วต่อวัน จะมี ความเสี่ยงเกิดโรคซึมเศร้าได้มากกว่าคนปกติ 3 เท่า
3. น้ำผลไม้บางชนิด เช่น ส้ม เสาวรส น้ำองุ่น เป็นต้น อาจทำปฏิกิริยากับยาที่ใช้รักษา ทำให้ตัวยาไม่เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อการรักษาเท่าที่ควร
ผู้ที่มีอาการซึมเศร้าอย่าอายหมอ ขอให้รีบไปรักษา
อาหารที่ถูกต้องเหมาะสมสำหรับผู้ป่วย ส่งผลให้กระบวนการรักษาโรคได้ผลดียิ่งขึ้น
อาหารที่ไม่ควรกิน อาหารที่มีน้ำตาลสูง อาหารที่มีรสหวานจัด
Posted in : โพสต์ทูเดย์ - ไลฟ์สไตล์ > สุขภาพ
Posted on : วันที่ 06 พ.ค. 2563